ฉนวนกันความร้อน คืออะไร
วัสดุที่สามารถสกัดความร้อนป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งฉนวนกันความร้อนที่ดีจะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้พลังงานความร้อนส่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้สะดวก และจะต้องมีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรง ซึ่งในด้านการตกแต่งบ้านนิยมนำมาใช้ติดตั้งไว้บนโครงหลังคาบ้าน เป็นส่วนที่ได้รับความร้อนมากสุดของบ้านจึงต้องใช้ฉนวนกันความร้อน เพื่อลดความร้อนของแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่งผ่านเข้ามาในบ้านจนเกิดความร้อน
ฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร
ฉนวนกันความร้อนโดยทั่วไปมี 4 ประเภทให้เลือกใช้ คือ อะลูมิเนียมฟอยล์ โพลียูรีเทนโฟม แอร์บับเบิ้ล และใยแก้วการเลือกใช้งานควรพิจารณาถึงคุณสมบัติ ค่ากันร้อน ลักษณะการติดตั้ง รวมถึงข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
เป็นแผ่นเคลือบอะลูมิเนียมที่ถูกทำให้หนาขึ้น มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย ไม่ลามไฟ สามารถแผ่รังสีความร้อนออกมาได้น้อยเมื่อนำไปติดตั้งใต้หลังคาทำให้ความร้อนถ่ายเทลงมาภายในบ้านได้น้อย จึงทำการป้องกันความร้อนได้ดีควรเลือกแบบหุ้มฟอยล์ 2 ด้าน และติดตั้งคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อช่วยดูดซับความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
โฟมเหลือง PUR PU กันความร้อนลงบนผิววัสดุ สารที่ใช้ฉีดเป็นฉนวนที่มีชื่อว่า “โพลียูรีเทนโฟม (PolyurethaneFoam )” ซึ่งเป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดีมากที่สุดจะไม่ดูดซับความชื้นสามารถป้องกันน้ำ และกันความชื้นได้ เป็นโฟมกันความร้อน ทนความชื้น ทนกรดด่าง กันสนิม อุดรอยรั่วซึม ไม่ลามไฟ ซึ่งมีทั้งแบบแผ่น และแบบพ่น ตำแหน่งที่พ่นสามารถพ่นบนฝ้าเพดาน ใต้หลังคา และบนหลังคาภายนอกอาคาร การใช้งานสามารถใช้ได้กับหลังคาทุกประเภท
ฉนวนประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นฟอยล์ประกบไว้กับบับเบิ้ลฟองอากาศมวลอากาศจะช่วยป้องกันความร้อน ส่วนด้านฟอยล์จะช่วยสะท้อนความร้อน ข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนฉนวนด้านในจะทำให้เกิดการลามไฟได้ สามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่งไม่ว่า จะเป็นการติดตั้งบริเวณโครงหลังคาแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน
ฉนวนใยแก้วจะห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ สามารถช่วยดูดซับความร้อน และดูดซับเสียงสะท้อน ซึ่งฉนวนชนิดนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นฉนวนกันความร้อนที่ราคาไม่สูงมาก ทนความร้อนสูงปลอดภัยติดไฟแต่ไม่ลามไฟมีความหนายืดหยุ่นได้ดี ป้องกันความชื้น และป้องกันแมลง หรือเชื้อราได้
คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนที่ดี
1. วัสดุอะลูมิเนียมฟอยล์
ข้อดี
- มีค่าการแผ่รังสีความร้อนของผิวอะลูมิเนียมต่ำ
- มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูงทนความชื้นได้ดีไม่ติดไฟ และไม่ลามไฟไม่ฉีกขาดง่าย
- ราคาประหยัด และหาซื้อได้ง่าย
- ทนต่อความชื้นได้ดี
ข้อเสีย
- ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง
- มีค่าสะท้อนความร้อน แต่ไม่กันความร้อนเข้าตัวบ้าน
2. วัสดุฉนวนแบบโฟม โพลียูรีเทนโฟม
ข้อดี
- ป้องกันการรั่วซึมกันความชื้น และกันสนิมได้เป็นอย่างด
- รองรับน้ำหนักกดทับได้ดี
- มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี
- กันความร้อนได้ดีมากที่สุดเมื่อเทียบกับฉนวนประเภทอื่น ๆ
- ใช้ได้ดีกับหลังคาทุกประเภท เช่น กระเบื้อง สังกะสี อะลูมิเนียม คอนกรีต เหล็ก
ข้อเสีย
- เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟไหม้
- การฉีดพ่นหากช่างขาดความเชี่ยวชาญ อาจทำให้ฉนวนฟุ้งกระจายได้
3. วัสดุฉนวนกันความร้อน Air Bubble
ข้อดี
- ดูดซับเสียงได้พอสมควร
ข้อเสีย
- ไม่สามารถกันความร้อนได้ใช้สะท้อนความร้อนเพียงเท่านั้น
- หากเกิดประกายไฟไปโดนฉนวนด้านในจะทำให้เกิดการลามไฟได้
4. วัสดุฉนวนใยแก้ว
ข้อดี
- มีความยืดหยุ่นได้ดี เมื่อถูกกดทับจะสามารถคืนตัวได้เร็ว
- ป้องกันแมลง หรือเชื้อราได้ดี
- มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ
- ป้องกันแมลง หรือเชื้อราได้ดี
ข้อเสีย
- ไม่มีคุณสมบัติกันลามไฟ
- มีโอกาสเกิดละอองขนาดเล็ก ๆ เมื่อเสื่อมสภาพ
- ไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่เปิดโล่ง
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับสาระดี ๆ เรื่องฉนวนกันความร้อนจาก ดูโฮมไกด์ สามารถเลือกชมสินค้าเพิ่มเติมได้เลยที่ ดูโฮมช้อปออนไลน์