พวกคุณสงสัยกันไหมว่าทำไมเหล็ก I-Beam ถึงเกิดมาเพื่อรับแรงกระแทกวันนี้ ดูโฮม จะไขข้อสงสัยเอง
เหล็ก I-Beam คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกันเหล็ก I-Beam ว่ามันคืออะไร และมีไว้ทำอะไรกันแน่ เหล็ก I-Beam เป็นเหล็กที่มีลักษณะคล้ายกับอักษรภาษาอังกฤษรูปตัว I ซึ่งในรูปทรงตัว I มีลักษณะพิเศษที่ซ่อนอยู่นั้นก็คือมุมที่ลบเหลี่ยมจากแกนกลางมาจนถึงปลายและมีคุณสมบัติต้านทานการดัดโค้งและการบิดได้ จึงมักถูกใช้งานที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น งานเกี่ยวกับการทำคาน เสาส่งไฟฟ้า และงานโครงสร้างรวมไปถึงรางเลื่อนในงานอุตสาหกรรม
แล้วทำไมถึงบอกว่าเหล็ก I-Beam เกิดมาเพื่อรับแรงกระแทก ?
เนื่องจากลักษณะพิเศษทางกายภาพเฉพาะตัวของ เหล็ก I-Beam ที่เป็นรูปตัว I จึงทำให้มีความหนามากกว่าเหล็กชนิดอื่น ๆ จึงทำให้มีความคงทนที่มากกว่า และสามารถรับแรงกดและรับแรงกระแทกได้ดียิ่งกว่าเหล็กประเภทอื่น ๆ ดังนั้นเหล็ก I-Beam จึงถูกนำไปใช้ในงานโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น รางเลื่อนในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโครงสร้างในโรงงาน และโกดังใหญ่ ๆ เป็นต้น
อย่าเข้าใจผิดระหว่าง I-Beam กับ H-Beam
ถึงเหล็กทั้ง 2 ชนิดจะมีชื่อเรียกที่คล้ายคลึงกันรวมถึงรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหล็กทั้ง 2 ชนิดยังเป็นเหล็กโครงสร้างเหมือนกันอีกด้วย แต่ก็มีความแตกต่างในความคล้ายคลึงกันอยู่ นั้นก็คือ รูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันตามชื่อโดย I-Beam ก็จะมีหน้าตัดคล้ายตัว I และเช่นกัน H-Beam ก็จะมีหน้าตัดคล้ายตัว H
รูปร่างต่างกันแล้วก็ยังมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน นี้จึงทำให้ I-Beam มีความหนาของเหล็กมากกว่า H-Beam จึงมักจะถูกนิยมใช้มากกว่าในงานที่ต้องรับน้ำหนักมากและมีแรงกระแทกอย่างเช่น รางเคนในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วน H-Beam เป็นที่นิยมมากกว่าเพราะมีขนาดที่หลากหลายและเป็นเหล็กที่เหมาะแก่การเป็นโครงสร้างอาคารเราจึงมักจะพบเห็นได้ง่ายตามไซต์ก่อสร้างทั่วไปนั้นเองครับ
ขนาดมาตรฐานที่ควรรู้ไว้สำหรับเหล็ก I-Beam
เหล็ก I-BEAM มีขนาดอะไรบ้างที่เป็นที่นิยมเรามาดูกันครับ
- - 250x125x7.5x12.5x6 เมตร
- - 200x100x7x10x6 เมตร
- - 150x75x5.5x9.5x6 เมตร
5 ข้อแนะนำของการใช้งานเหล็ก I-Beam
เหล็ก I-BEAM มีขนาดอะไรบ้างที่เป็นที่นิยมเรามาดูกันครับ
- 1. โปรดใช้งานอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายเพราะเหล็ก I-Beam มีขนาดที่ใหญ่ด้วยความที่เป็นเหล็กโครงสร้าง
- 2. ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะเหล็กที่ไม่พอดีอาจทำให้โครงสร้างโดยรวมไม่สมบูรณ์ได้และยังขนย้ายค่อนข้างยากจึงควรเลือกอย่างระมัดระวัง
- 3. ควรจัดเก็บให้ห่างจากความชื้นหรือใกล้น้ำ เพื่อให้เหล็กของเราห่างไกลจากสนิมที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากความชื้น
- 4. ควรจัดวางไว้เหนือพื้นดินและอยู่ในที่แห้ง เพื่อป้องกันความชื้นหรือน้ำที่อาจจะไปกักขังในบริเวณพื้นที่ที่เก็บเหล็ก I-Beam ที่ต่ำกว่าพื้นดิน
- 5. ควรจัดหาวัสดุปิดคลุมให้มิดชิด เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นที่อาจมาจากที่ใดก็ได้
เป็นยังไงกันบ้างครับทีนี้หายสงสัยกันหรือยังว่าทำไมเหล็ก I-Beam ถึงเกิดมาเพื่อรับแรงกระแทกแล้วก็สามารถทำตามข้อแนะนำการใช้เหล็กทั้ง 5 ข้อที่แนะนำไว้เพื่อป้องกันสินค้าได้ แล้วถ้าลูกค้าท่านใดสนใจ เหล็ก I-Beam หรือติดตามเนื้อหา บทความ สาระดี ๆ และข่าวสารที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ ดูโฮมไกด์ นะครับ